ควรมองหา SPF ที่สูงกว่า 30

หากจะเทียบค่า SPF กับปริมาณการดูดซับรังสี UVB พบว่า
-
ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
-
ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
-
ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
-
ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
-
ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
-
ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
-
ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
-
ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%
จะเห็นว่า ค่า SPF ที่สูงเกิน 30 ขึ้นไป จะมีความสามารถในการปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้แทบไม่แตกต่างกัน ยิ่งค่า SPF สูงจะพบว่าผลิตภัณฑ์มีความมันและเหนอะหนะ และการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่าสูงกว่า 50 อาจไม่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน แน่นอนว่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี SPF สูงเกินจำเป็นก็ไม่เสียหายอะไร อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงก็มักจะมีความเหนียวมาก สร้างความรู้สึกไม่สบายผิว อาจเพิ่มโอกาสอุดตันและเกิดรอยขาวบนผิวจากทั้งตัวผลิตภัณฑ์เองและการเกลี่ยที่ทำได้ยาก
นอกจากค่า SPF แล้ว บนฉลากครีมกันแดดยังมีการระบุระดับ PA
(Protection grade of UVA) ซึ่งเป็นค่าการป้องกันรังสี UVA ริเริ่มโดยสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 โดยมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้
-
PA+ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA เริ่มต้น
-
PA++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA กลาง
-
PA+++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูง
-
PA++++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูงสุด
.



เข้าใจSPFและค่า PA
เวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดด หลายๆคนก็คงจะเคยหยิบมาดูหลายๆ ยี่ห้อ แล้วเปรียบเทียบค่า SPF ที่ปรากฏบนฉลาก และบ่อยครั้งเราก็มักจะเลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุค่า SPF สูงๆ แล้ว SPF คืออะไร ??
SPF นั้นย่อมาจาก Sunburn Protection Factor เป็นค่าที่บอกความสามารถของครีมกันแดดในการป้องกันการไหม้แดงของผิว ซึ่งเกิดจาก รังสียูวีบี (UVB) โดยตัวเลขที่ตามหลังค่า SPF ยิ่งมีค่ามากยิ่งสามารถปกป้องผิวจากแสงแดดได้นานขึ้น สมมติตัวอย่างหากโดยปกติเรายืนอยู่กลางแดด 10 นาที แล้วผิวจะมีอาการไหม้แดง ถ้าหากทาครีมกันแดด SPF 15 โดยทฤษฎีแล้วจะสามารถช่วยให้อยู่กลางแดดได้นานขึ้นเป็น 10x15=150 นาที ก่อนจะมีอาการไหม้แดง (แล้วแต่บุคคล ขึ้นกับสีผิวโดยบุคคลที่ผิวสีเข้มจะทนทานแสงแดดได้มากกว่า)


รู้จักรังสีจากดวงอาทิตย์

รังสีจากดวงอาทิตย์ จะเดินทางจากอวกาศผ่านชั้นบรรยากาศมาถึงผิวโลกจะถูกกระจายและดูดกลืนโดยโมเลกุลของก๊าซต่างๆ อนุภาคฝุ่น และเมฆที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ การแบ่งรังสีดวงอาทิตย์ตามคุณสมบัติและช่วงคลื่นได้แก่
รังสีแสงสว่าง (Visible Radiation)
แสงสว่างเป็นรังสีที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ช่วงสเปคตรัมของแสง จะอยู่ในช่วง 400-800 ซึ่งทำให้เรามองเห็นวัตถุต่างๆ มีสีสัน
รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultra-violet, UV)
เป็นรังสีที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ
UV-A: ความยาวคลื่น 315-400 นาโนเมตร สามารถทะลุชั้นบรรยากาศและก้อนเมฆลงมาได้ สามารถผ่านทะลุกระจกได้ แม้เราอยู่ในอาคาร และเข้าสู่ผิวหนังชั้น dermis คนเราจึงได้รับรังสีชนิดนี้มากกว่าชนิดอื่น ๆ ทำให้เกิดผิวคล้ำแดด เพราะแสงจะกระตุ้นการสร้างเมลานิน แต่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบ การได้รับรังสี UV-A เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดริ้วรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ และความชราของผิวหนัง (Aging) สามารถไปกดภูมิต้านทานของผิวหนัง อันส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถปกป้องผิวจากการเกิดและแพร่กระจายของมะเร็งผิวหนังได้
UV-B: ความยาวคลื่น 280-315 นาโนเมตร มีประมาณ 5% ในแสงอาทิตย์ สามารถถูกกรองโดยชั้นบรรยากาศและก้อนเมฆได้เล็กน้อย รังสีนี้ไม่สามารถทะลุกระจก หรือทะลุเข้ามาในอาคารได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเรายืนอยู่ในที่โล่งแจ้ง รังสี UVB จะเป็นสาเหตุให้เกิดผิวไหม้แดด เกรียมแดด (Burning)
UV-C: ความยาวคลื่น 100-280 นาโนเมตร โดยปกติแล้ว รังสี UVC ถูกดูดกลืนโดยชั้นบรรยากาศทั้งหมดไม่พบที่ผิวพื้นโลก เว้นแต่บางพื้นที่ของโลกที่ชั้นบรรยากาศเป็นช่องโหว่ อาจมีรังสี UVC ผ่านลงมาได้ ซึ่ง UVC เป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง
รังสีอัลตราไวโอเลตทั้งสามชนิดคือ UVA, UVB และ UVC สามารถทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเสื่อมสภาพได้ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย ผิวหนังมีระบบตอบสนองต่อรังสี UV เพื่อป้องกันการไหม้แดดและป้องกันการทำลาย DNA ดยการสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้นมาเป็นเกราะป้องกันการทะลุทะลวงของรังสี UV จึงทำให้ผิวคล้ำดำมากขึ้น